วันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

ข้อดี ข้อเสีย พื้นกระเบื้องยาง แบบทากาว และ คลิ๊กล็อค

จุดเด่น จุดด้อย/ ข้อดี ข้อเสีย ของวัสดุ กระเบื้องยาง

ปัจจุบัน กระเบื้องยาง หลัก ๆ มี 2 แบบ ในการติดตั้งคือ

  • แบบทากาว จะเป็นกระเบื้องที่มีความหนา ไม่เกิน 3 มม. 
    (แบบทากาว)

  • แบบคลิ๊กล็อค เข้าลิ้น จะเป็นกระเบื้องยางที่มีความหนา ตั้งแต่ 4 มม. ขึ้นไป


ข้อดี 

  1. กรณีพื้นกระเบื้องยางคลิ๊กล็อค งานติดตั้งไม่ต้องใช้กาว สามารถรื้อไปติดตั้งใหม่ได้
  2. ปลวกไม่กิน เพราะเนื้อวัสดุ ไม่ได้ทำจากไม้ 
  3. ทนต่อ ภูมิอากาศแบบร้อนชื้น  ของประเทศไทย ได้ดี
  4. ผิวหน้าของกระเบื้องยางลายไม้ จะมี Texture ทำให้ไม่ลื่น
  5. สามารถปูทับพื้นเดิมได้ กรณี กระเบื้องแบบทากาว อาจต้องปรับสภาพผิวพื้นเดิม ถ้าเป็นแบบคลิ๊กล็อค สามารถติดตั้งทับได้เลย 

  6. ราคาถูก กระเบื้องยาง ราคาจะถูกกว่า พื้นไม้ธรรมชาติ มาก ๆ  
  7. ทนรอยขีดข่วนได้ ข้อดี สามารถดู Spec ของสินค้าแต่ละตัว โดยดูที่ Wear Layer ส่วนใหญ่จะมีความหนา 0.3 - 0.5 มม.  ถ้าเป็น พื้นไม้ลามิเนต จะเรียกว่า AC Rating
  8. สามารถใช้งานได้ทันที หลังติดตั้งเสร็จ กรณีแบบทากาวอาจรอกระเบื้องกับกาว เซ็ตตัวประมาณ 8-24 ชม. กรณีแบบคลิ๊กล็อค สามารถใช้งานได้เลย
  9. น้ำหนักเบา พื้นที่ต่อเติม หรืองานบูธแสดงสินค้า ชั่วคราว ติดตั้งบนไม้อัด ก็สามารถทำได้
  10. ทั้ง 2 แบบ ติดตั้งง่าย และรวดเร็ว
    (แบบคลิ๊กล็อค)

ข้อเสีย ของกระเบื้องยาง

  1. ความสวยงาม หากเทียบกับพื้นไม้ลามิเนต พื้นไม้ลามิเนต จะให้ผิวสัมผัสเหมือนไม้มากกว่า 
  2. กรณี กระเบื้องคลิ๊กล็อค อาจมีราคาสูงกว่า พื้นไม้ลามิเนต เพราะเนื้อวัสดุ เป็น SPC (Stone Plastic Composite) ทนความชื้น ได้ดีกว่า พื้นไม้ลามิเนต 

วันพุธที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

วันจันทร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

ข้อดี ข้อเสีย ของ พื้นไม้ลามิเนต by laminatethai

 

ในปัจจุบันทั้งโครงการคอนโดต่าง ๆ หรือบ้านจัดสรรทั้งหลาย มักจะเลือกปูพื้นด้วยพื้นไม้ลามิเนตกันทั้งนั้น เพราะไม้จริงนั้นหายาก และมีราคาค่อนข้างสูง  แต่ไม้ลามิเนตเองก็มีข้อดีที่มาทดแทนกันได้ เช่น ลักษณะคล้ายไม้จริง ลวดลายสีสันก็มีให้เลือกเยอะ สีไม่ซีดจาง เหมาะกับเวลาทำงานมาก เพราะติดตั้งง่าย สะดวก รวดเร็ว หน้างานไม่เลอะเทอะ และหลังจากติดตั้งเสร็จเเล้วสามารถใช้งานได้ทันที เเต่ที่สำคัญที่สุด เลยก็คือถูกกว่าไม้จริง 4-5 เท่าเลย
        ที่เล่ามาทั้งหมดนี้มันมีเเต่ข้อดีทั้งนั้นเลย อย่าเพิ่งดีใจรื้อไม้จริงมาปูลามิเนตเเทนกันนะคะ ไม่มีอะไรดี 100% เเน่นอนค่า เพราะด้านที่ไม่ดีก็มีไม่น้อยเหมือนกัน โดยเฉพาะถ้าติดตั้งไม่ดี หรือ การใช้งานไม่ถูกวิธี 

 

 

มารู้จักสภาพพื้นโดยทั่วไปกันก่อน

  • ผิวหน้าต้องไม่มีรอยขีดข่วน บิ่น หรือมีรอยฉีกขาดของผิวหน้า
  • สีพื้นไม้ลามิเนตควรเป็นโทนเดียวกัน สีไม่โดดหรือแตกต่างอย่างเห็นได้ชัด
  • รอยต่อบริเวณพื้นไม้ต้องเรียบสนิท ไม่ห่างหรือเป็นรอยนูนขึ้นมา และรอยต่อระหว่างพื้นไม้ลามิเนตกับบัว ต้องเก็บซิลิโคนเรียบร้อย ไม่มีร่องห่างระหว่างพื้นและบัว
  • ระนาบพื้นไม้ลามิเนตไม่โก่ง นูน หรือลาดเอียง
  • ต้องไม่บวมน้ำหรือพองตรงจุดใดจุดหนึ่งไหนลองสัมผัสหรือเหยียบให้ทั่วพื้นห้อง 
  • พื้นต้องไม่ยวบหรือยุบ ถ้ายวบหรือยุบเยอะแสดงว่าพื้นด้านใต้เป็นแอ่ง ควรแก้ไขด้านใต้ให้เรียบร้อยก่อน 
  • ถ้าเหยียบแล้วจมลงไปมากหรือมีฝุ่นออกมาด้วยโดยเฉพาะพื้นบริเวณขอบๆ ก็ต้องให้แก้ไขให้เรียบร้อยก่อนเช่นกัน

*** “ในกรณีที่บ้านหรือคอนโดฯ อยู่อาศัยมานานแล้วสามารถสังเกตได้ว่าพื้นลามิเนตโดนปลวกแทะหรือไม่? ให้สังเกตผิวหน้าจะมีลักษณะย่นหรือเวลาเหยียบพื้นจะยุบตัว ส่วนใหญ่มีโอกาสพบในบ้านที่มีความชื้นสูง” 

 

การใช้ไม้ลามิเนตต้องระวังเรื่องใดบ้าง?

  • พื้นไม้ลามิเนตมีความยืดหยุ่นน้อยกว่าไม้จริงจึงไม่ถูกกับอากาศร้อน ดังนั้นห้องที่ปูด้วยลามิเนตต้องเปิดหน้าต่างเป็นประจำเพื่อให้อากาศถ่ายเท  ไม่เช่นนั้นรอยต่อพื้นอาจบวม โก่ง หรือยุบยวบได้เช่นกัน
  • พื้นไม้ลามิเนตยังไม่ถูกกับความชื้น เช่น ชื้นเพราะมีน้ำรั่วซึมจากกรอบหน้าต่าง  พื้นหน้าห้องน้ำ หรือความชื้นจากใต้พื้นคอนกรีต ความชื้นเหล่านี้สามารถทำให้พื้นบวมพองได้
  •  พื้นไม้ลามิเนตต้องทำความสะอาดอย่างถูกวิธี โดยใช้ผ้าชุบน้ำบิดแบบหมาดๆ จนถึงแห้ง หรือใช้เครื่องดูดฝุ่นเท่านั้น การใช้ผ้าเปียกเกินไปหรือการทำน้ำหกลงพื้นแล้วไม่รีบเช็ดจะทำให้พื้นบวมได้ง่าย
  • พื้นไม้ลามิเนตมีสิทธิโดนปลวกแทะถ้าได้รับความชื่้นอยู่เสมอ
  • พื้นไม้ลามิเนตเหมาะสำหรับปูพื้นผิวภายในเท่านั้น ไม่สามารถใช้กับพื้นภายนอกได้เลย
  • ถ้าพื้นผิวคอนกรีตค่อนข้างไม่ได้ระดับ ไม่เรียบ ควรเลือกพื้นชนิดหนาคือ 12 มิลลิเมตร
  • ขั้นตอนการติดตั้งพื้นผิวต้องได้ระดับ พื้นไม้ลามิเนตติดตั้งง่ายและรวดเร็วก็จริง แต่การเตรียมพื้นผิวพื้นหน้างานต้องปรับให้ได้ระดับก่อนติดตั้ง โดยความแตกต่างของระดับไม่ควรเกิน 5 มิลลิเมตร ไม่เช่นนั้นพื้นจะยุบยวบได้
  • วิธีติดตั้งต้องถูกวิธีถูกขั้นตอน  เช่น การเว้นร่องรอบห้องประมาณ 1 เซนติเมตร หรือต้องสอดพื้นเข้ากับใต้วงกบไม้เพื่อไม่ให้พื้นโก่งตัวหรือยุบตัว
  • เก็บบิลงานติดตั้งไว้เสมอ เพื่อจะได้ทราบที่มาของสินค้า เนื่องจากพื้นไม้ลามิเนตแต่ละแบรนด์มีลิ้นแตกต่างกัน ไม่สามารถติดตั้งต่อกันได้  การเก็บเอกสารลูกค้าจะได้ทราบแบรนด์เดิมที่เคยใช้ 
  • พื้นไม้ลามิเนตที่โดนน้ำแล้ว จะปล่อยสารเคมีในตัวไม้ออกมา ทำให้เกิดกลิ่นเหม์นอับชื้น ไม่ดีต่อสุขภาพ ควรแก้ไข อย่าปล่อยไว้ โดยเฉพาะห้องของเด็กหรือผู้สูงอายุ 


        ทีนี้รู้จัก “พื้นลามิเนต” กันดีแล้วน้า อย่างที่บอกว่าพื้นลามิเนตไม่ได้มีเเต่ข้อดีเท่านั้น เผลอๆ อาจมีข้อเสียเยอะกว่าก็เป็นได้ การดูเเลทำความสะอาดก็ต้องระมัดระวัง โดยเฉพาะเรื่องความชื้นที่ไม่ถูกกันอย่างเเรง ดังนั้นถ้าบ้านใครที่ปูหรือคิดจะปูพื้นด้วยลามิเนตแล้วล่ะก็ต้องเน้นเรื่องนี้ไว้ให้ดีเลย

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติม ได้ที่ : laminatethai

 

จะปู พื้นไม้ลามิเนต ความหนา 8 มม. หรือ 12 มม. ดี?

 จะปู พื้นไม้ลามิเนต ความหนา 8 มม. หรือ 12 มม. ดี?

พื้นไม้ลามิเนต ที่นิยมใช้กันในประเทศไทย โดยทั่วไป มีอยู่ 2 ความหนา คือ ไม้ลามิเนต ความหนา 8 มม. และ ความหนา 12 มม. ซึ่งบ่อยครั้งเจ้าของบ้าน ที่อยู่อาศัย จะเลือกใช้งาน พื้นลามิเนต ข้อมูลนี้เราจะนำเสนอ เพื่อให้ได้พิจารณาเปรียบเทียบ

องค์ประกอบที่ควรพิจารณาเลือก ใช้ ความหนา ของพื้นไม้ลามิเนต ที่จะใช้ คือ

  • ห้องที่จะใช้ เป็น ห้องประเภทไหน ห้องนอน ห้องนั่งเล่น สำนักงาน โรงพยาบาล โดยหลักใหญ่ จะเป็น 2 ทางเลือก คือ ห้องที่อยู่อาศัยที่มีคนใช้ไม่เกิน 4-5 คน ก็ใช้ที่ความหนา 8 มม. ก็เพียงพอ ถ้าเป็น Office สำนักงาน ห้องฟิตเนส บูธแสดงสินค้าที่มีคนเดินมาก ๆ ก็แนะนำให้ใช้พื้นไม้ลามิเนตที่มีความหนา 12 มม.
  • ลักษณะของพื้นผิว เดิม ก่อนจะติดตั้ง ถ้าพื้นเดิมมี ผิวเรียบเสมอกันได้มาตรฐาน ไม่เป็นแอ่ง หรือนูน ก็สามารถติดตั้งพื้นไม้ลามิเนต ความหนา 8 มม. ได้ แต่หากพื้นเดิม มีผิวไม่ค่อยเรียบ เสมอกัน ไม้ลามิเนต ความหนา 12 มม. ก็น่าจะช่วยได้มากกว่า เดินแล้วจะไม่โคลงเคลง มีความแน่น ของวัสดุมากกว่า เนื่องจากพื้นที่ลิ้นไม้ ที่หนากว่านั่นเอง
  • ราคา แน่นอน หนากว่าต้อง มีราคาสูงกว่าอยู่แล้ว โดยทั่วไปจะต่างกันประมาณ 100-200 บาท/ตรม. ดังนั้นหากเป็นพื้นที่ห้องเล็ก ๆ ไม่กว้างมาก Budget ก็จะไม่แตกต่างกันมากนัก
  • ความซับเสียง ความหนามากกว่า ก็จะซับเสียงได้มากกว่า
  • ข้อสุดท้าย ลวดลายของพื้นไม้ลามิเนต บางลายจะมีเฉพาะ 12 มม.เท่านั้น ส่วนใหญ่ พื้นไม้ลามิเนตความหนา 12 มม. จะมีโทนสี ออกเข้มมากกว่า เนื่องจาก จะติดตั้งในห้องที่มีคนใช้เยอะกว่า พื้นที่กว้างกว่า โทนสี ก็จะออกเข้ม ๆ กว่า พื้นไม้ลามิเนตที่มีความหนา 8 มม.  

สิ่งเหล่านี้คือความแตกต่าง ระหว่างความหนา ของพื้นไม้ลามิเนต ซึ่งทางเรารวบรวมมาให้ท่านได้เลือกตัดสินใจ ตามความจำเป็น ในการใช้งาน ในแต่ละห้อง และความพอใจของเจ้าของบ้านนั่นเอง


อ่านเพิ่มเติมได้ที่ laminatethai









จุดเด่น จุด้อย ของกระเบื้องยาง

 จุดเด่น จุดด้อย/ ข้อดี ข้อเสีย ของวัสดุ กระเบื้องยาง

ปัจจุบัน กระเบื้องยาง หลัก ๆ มี 2 แบบ ในการติดตั้งคือ

  • แบบทากาว จะเป็นกระเบื้องที่มีความหนา ไม่เกิน 3 มม. 
  • แบบคลิ๊กล็อค เข้าลิ้น จะเป็นกระเบื้องยางที่มีความหนา ตั้งแต่ 4 มม. ขึ้นไป

ข้อดี ข้อเสีย

  1. กรณีพื้นกระเบื้องยางคลิ๊กล็อค งานติดตั้งไม่ต้องใช้กาว สามารถรื้อไปติดตั้งใหม่ได้
  2. ปลวกไม่กิน เพราะเนื้อวัสดุ ไม่ได้ทำจากไม้ 
  3. ทนต่อ ภูมิอากาศแบบร้อนชื้น  ของประเทศไทย ได้ดี
  4. ผิวหน้าของกระเบื้องยางลายไม้ จะมี Texture ทำให้ไม่ลื่น
  5. สามารถปูทับพื้นเดิมได้ กรณี กระเบื้องแบบทากาว อาจต้องปรับสภาพผิวพื้นเดิม ถ้าเป็นแบบคลิ๊กล็อค สามารถติดตั้งทับได้เลย
  6. ราคาถูก กระเบื้องยาง ราคาจะถูกกว่า พื้นไม้ธรรมชาติ มาก ๆ  
  7. ทนรอยขีดข่วนได้ ข้อดี สามารถดู Spec ของสินค้าแต่ละตัว โดยดูที่ Wear Layer ส่วนใหญ่จะมีความหนา 0.3 - 0.5 มม.  ถ้าเป็น พื้นไม้ลามิเนต จะเรียกว่า AC Rating
  8. สามารถใช้งานได้ทันที หลังติดตั้งเสร็จ กรณีแบบทากาวอาจรอกระเบื้องกับกาว เซ็ตตัวประมาณ 8-24 ชม. กรณีแบบคลิ๊กล็อค สามารถใช้งานได้เลย
  9. น้ำหนักเบา พื้นที่ต่อเติม หรืองานบูธแสดงสินค้า ชั่วคราว ติดตั้งบนไม้อัด ก็สามารถทำได้
  10. ทั้ง 2 แบบ ติดตั้งง่าย และรวดเร็ว

ข้อเสีย ของกระเบื้องยาง

  1. ความสวยงาม หากเทียบกับพื้นไม้ลามิเนต พื้นไม้ลามิเนต จะให้ผิวสัมผัสเหมือนไม้มากกว่า 
  2. กรณี กระเบื้องคลิ๊กล็อค อาจมีราคาสูงกว่า พื้นไม้ลามิเนต เพราะเนื้อวัสดุ เป็น SPC (Stone Plastic Composite) ทนความชื้น ได้ดีกว่า พื้นไม้ลามิเนต 
เครดิตข้อมูล : https://www.laminatethai.com/สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : จุดเด่น จุดด้อย/ ข้อดี ข้อเสีย ของกระเบื้องยาง

พื้นไม้ลามิเนตบวม ไม่เปลี่ยน ได้มั๊ย?

พื้นไม้ลามิเนต บวม สาเหตุเกิดจากอะไร?

  1.  หลัก ๆ เกิดจากน้ำรั่ว มีน้ำซึมจากจุดต่าง ๆ เช่น ประตู ระเบียงบ้าน หน้าต่างไม่ปิดตอนฝนตก หรือความชื้นสะสมจากน้ำท่วม กับกำแพงที่มีน้ำ
  2. พื้นบริเวณหน้าห้องน้ำ อาบน้ำเสร็จ ตัวเปียก ๆ เดินออกมาทุก ๆ วัน วันละหลาย ๆ คน ก็ต้องระวังนะจุดนี้
  3. แม่บ้าน กลัวไม่สะอาด ผ้าถูบ้านอย่างชุ่ม เปียกเกินไป อันนี้ก็ เป็นอีกสาเหตุหนึ่ง

วิธีป้องกัน พื้นไม้ลามิเนต บวม

  • แก้ไขบริเวณที่มีน้ำรั่ว น้ำซึม ให้ได้เสียก่อน เพราะถ้าไม่ทำ เปลี่ยนไปเดี๋ยวก็กลับมาบวมได้อีก
  • บริเวณหน้าห้องน้ำ ควรมี พรมเช็ดเท้า การกรองความชื้น ด้วยพรมเช็ดเท้า จะช่วยยืดอายุการใช้งาน พื้นไม้ลามิเนต ได้ยาวนานขึ้น
  • ระวังน้ำหก หรือน้ำขังบริเวณพื้นไม้ลามิเนต เป็นระยะเวลานาน ๆ ก่อนออกจากปาก ควรตรวจ ประตู หน้าต่าง ให้ปิดมิดชิดเรียบร้อย เท่านี้ ปัญหาต่าง ๆ ก็จะไม่เกิด กันขโมยไปในตัวด้วย

พื้นไม้ลามิเนต ที่บวม ไม่เปลี่ยนได้มั๊ย

  • หากเป็น พื้นที่ไม่กว้างมากนัก ไม่รำคาญสายตา ก็อาจใช้พรมผืนใหญ่ วางปิด เป็นการตกแต่งบ้านไปในตัว
  • หากพื้นไม้ลามิเนต บวม เป็นพื้นที่ใหญ่ ๆ ควรต้องเปลี่ยน เพราะเมื่อไม้ลามิเนต บวม จะคายสารเคมี ในตัวไม้ ให้สังเกตุ ไม้ลามิเนต บวม จะมีกลิ่นเหม็น ของความอับชื้น ผสมกับสารเคมี สูดดมนาน ไม่ดีต่อสุขภาพ
  • ไม้บวม นานแล้ว ไม่เปลี่ยนได้มั๊ย ไม้ลามิเนตบวม ปลวกจะเข้ามาแทนที่ เพราะโครงสร้างในเนื้อไม้ โดนความชื้น เข้าไปแทนที่ ปลวกสามารถ กินไม้ลามิเนตที่บวมได้
  • เปลี่ยนเฉพาะจุดที่บวม : การเปลี่ยนพื้นไม้ลามิเนต จะใช้การรื้อจากกำแพง จุดที่ใกล้กับพื้นที่ ที่ไม้บวม แต่การเปลี่ยนไม้ลามิเนต ต้องใช้ไม้แบรนด์เดิม ที่เคยติดตั้งไว้ เพราะว่า ไม้ลามิเนต แต่ละแบรนด์ มีลิขสิทธิ์ลิ้นไม้ ไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้น ควรเก็บ บิล หรือสอบถามรายละเอียด แบรนด์ที่โครงการใช้ กับทางนิติบุคคลอาคาร หมู่บ้าน ลองสอบถามดู ว่าโครงการที่อยู่ใช้ไม้ลามิเนต ยี่ห้ออะไร

พื้นไม้ลามิเนต หาก ดูแลด้วยความเข้าใจ ไม่โดนความชื้น ห้องมีการระบายอากาศอย่างสม่ำเสมอ ติดตั้งโดยช่างเฉพาะทาง ปัญหาต่าง ๆ ก็จะไม่เกิดแน่นอน 

เครดิตข้อมูล : https://www.laminatethai.com/สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : พื้นไม้ลามิเนต บวม ไม่เปลี่ยนได้มั๊ย?

กระเบื้องยาง SPC และพื้น WPC ดีอย่างไร?

 กระเบื้องยาง SPC และพื้น WPC ดีอย่างไร?

พื้น SPC เป็นพื้นวัสดุ นวัตกรรมใหม่ ที่เราอยากนำเสนอ ด้วยคุณสมบัติ พิเศษ มีความทนทาน และแข็งแรงกว่า พื้นไม้ลามิเนต และกระเบื้องยาง(แบบทากาว) เป็นอย่างมาก เนื่องจากวัสดุทำจาก หินสังเคราะห์ 100% (SPC : Stone Plastic Composite) 

พื้น WPC ผลิตจากวัสดุ ไม้เทียม (WPC : Wood Plastic Composite) กระบวนการผลิตโดยการนำผงไม้ผสมกับผงพลาสติก เกรด Virgin(ไม่ใช่ Recycle) ขึ้นรูป ไม่แตกหักง่าย ทนทานต่อการใช้งาน รวมทั้งการติดตั้งที่ไม่ซับซ้อน 

นอกจากวัสดุ ที่ใช้ในการสร้างแกน Core หลักวัสดุพื้น ระหว่างไวนิล WPC และ SPC

ความแตกต่าง ที่สำคัญระหว่าง พื้น WPC และ SPC

  • ความหนา : โดยส่วนใหญ่ พื้น WPC มีความหนามากกว่า พื้น SPC โดยทั่วไปจะหนาที่ 7 มม. ในขณะพื้น SPC มีความหนาตั้งแต่ 4-5 มม. 
  • ฉนวนกันความร้อน แกนที่หนากว่าของ WPC จะกันความร้อน และเก็บเสียงได้ดีกว่า
  • ความคงทน พื้น WPC มีความหนากว่า พื้น SPC ก็จริง แต่ เนื้อวัสดุ ของ SPC มีความหนาแน่นมากกว่า พื้น WPC ทำให้พื้น SPC ทนแรงกระแทก และรับน้ำหนักได้ดีขึ้น
  • ความเสถียร พื้น WPC และพื้น SPC สามารถติดตั้งได้ในห้องที่มีความชื้น และค่าความผันผอนของ อุณหภูมิ แต่หากอุณหภูมิ มีการเปลี่ยนแปลงมาก ๆ พื้น SPC สามารถ ทนได้ดีกว่า ทั้งนี้เนื่องจาก ความหนาแน่นของเนื้อวัสดุที่มีมากกว่านั่นเอง ทำให้อัตราการขยายและหดตัวของวัสดุ SPC ดีกว่า WPC
  • ราคา พื้น SPC มีราคาถูกกว่า พื้น WPC 
  • ผิวสัมผัส พื้น WPC มี Texture ที่เด่นชัดกว่า ทำให้ดูเหมือนไม้จริงมากกว่า

ความคล้ายคลึงกันของ SPC และ WPC

  • กันน้ำ ทั้ง 2 ตัวนี้ มีแกนหลักเป็นวัสดุสังเคราะห์  สามารถกันน้ำได้อย่างสมบูรณ์ 
  • ความทนทาน SPC มีความหนาแน่นมากกว่า พื้น WPC แต่หากเป็นบ้านที่อยู่อาศัย มีการใช้ในพื้นที่ของคนไม่มากนัก ทั้ง 2 ตัว ก็ถือได้ว่ามีความทนทานใกล้เคียงกัน
  • การติดตั้งง่าย ทั้ง 2 ตัวเป็น พื้นกระเบื้องแบบ คลิ๊กล็อค ติดตั้งโดยไม่ต้องใช้กาว สามารถติดตั้ง แบบ DIY โดยใช้เครื่องมือไม่กี่อย่าง 
  • กันปลวก ได้ 100% แน่นอน วัสดุทั้ง 2 ตัว เป็นวัสดุสังเคราะห์ ปลวกไม่สามารถทำอะไรได้ ไม่บวมเพราะความชื้น และไม่หลุดร่อนแน่นอน
  • ปลอดภัยจากสารเคมี เพราะไม่ต้องใช้กาว ในการติดตั้ง 
  • รับประกัน 10 ปี ทั้ง 2 วัสดุ มีอายุการใช้งานยาวนานกว่า พื้นไม้ลามิเนต หมดปัญหาเรื่องความชื้น และ ปลวก 100%